หน้าเว็บ

ชนิดของกล้อง

กล้องวงจรปิด


I P CAMERA
กล้องจิ๋วmini camera
กล้องปากกา สุดยอดกล้อง spy กล้องสำหรับนักสืบมืออาชีพ
กล้องวงจรปิด ชนิดพิเศษ
กล้องวงจรปิดมาตรฐาน Fixed Camera
กล้องวงจรปิดอินฟราเรด Infrared Camera
กล้องสปีดโดม Speeddome Camera
การเลือกขนาด


วิธีดูกล้องผ่านเนต

ดูกล้องวงจรปิดผ่านรอินเทอร์เนต
ต้องการดูภาพผ่านระบบ Internet ทำอย่างไร …

ขั้นตอนนี้จะเป็นการตั้งชื่อ Host ที่เราจะทำการเรียกดูภาพผ่านระบบ Internet โดยที่เราจะต้องไปทำการลงทะเบียนชื่อ Host จาก Website Dyndns.com เสียก่อน ขั้นตอนการลงทะเบียนนั้น จากภาพที่ 1 Click Sign In ให้เลือกหัวข้อ Create an Account


ภาพที่ 2 เป็นรายละเอียดในการลงทะเบียน Host Free ของ Web site Dyndns.com ให้คุณกรอกรายละเอียดให้หมด ที่สำคัญในส่วนของ Email ให้ใส่ ชื่อ Email


ที่คุณใช้อยู่จริงเท่านั้น
เมื่อเสร็จจากขั้นตอนนี้แล้ว ให้คุณรอการยืนยันการลงทะเบียนที่มาจากWeb Dyndns.com ที่จะส่งมาที่ Email ที่คุณลงทะเบียนเมื่อคุณดูว่ามี ข้อความจาก DynDns.com ส่งมา ให้ทำการยืนยันกลับไปที่ Web Site อีกครั้ง หลังจา กที่ทำการ Login เรียนร้อยแล้วจะได้ข้อมูลดังภาพต่อไปนี้

หลังจากนั้นให้ Click ที่ Add host service จะปรากฏดังภาพต่อไปนี้

ให้ใส่ Host name (ชื่อที่ใช้ในการเรียกดูภาพกล้องวงจรปิด) ตามด้วย นามสกุลอะไรก็ได้เลือกเอาตามใจ ชอบ ส่วนตรงช่อง Serives Type ไม่เปลี่ยนแปลง ช่อง IP Address ให้ Click ที่ You current location ip address เสร็จแล้วให้ Click ที่ บรรทัดสุดท้าย Add to Cart หลังจากนั้น ทาง web site จะเปิดหน้า web page ในขั้นตอนการเสียค่าบริการ เราไม่ต้องสนใจให้กด Next ผ่านไปได้เลย หลังจากนั้นคุณก็จะได้ ชื่อ host มาใช้ฟรีๆครับ

ต่อไปจะเป็นเรื่องของการ Set Config Router ของเราครับ
แบ่งเป็นขั้นตอน ใหญ่ๆ 3 ขั้นตอน ดังนี้
- Forward port ขั้นตอนการทำงาน หรือ Set ค่า Router แต่ละรุ่น จะแตกต่างกัน ฉนั้นผมไม่สามารถมาเขียนได้ทั้งหมดแนะนำให้ค้นหาข้อมูลผ่านทาง Google จะมีบทความให้คุณได้ศึกษา การตั้งค่า Router มากมาย
- Set ค่า DDNS คือการ นำ username , password และ host ที่เราไป ลงทะเบียน web site dyndns.com มาใส่ครับ
- ปลด Fire wall หลังจากทำตามขั้นตอนทั้งหมดแล้วเราก็ นำชื่อ Host ที่เราลงทะเบียนไว้มาดูภาพผ่าน Internet ได้แล้วครับ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ แล้วพบกันใหม่ครับ … Kohub

เลนของกล้องวงจรปิด


การเลือกขนาดของเลนส์
ในอดีตได้มีการสร้างกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ด้วยการใช้ตัวรับภาพหลายขนาด ตั้งแต่ ขนาด ๑ นิ้ว ๒/๓ นิ้ว และ ๑/๒ นิ้ว ต่อมามีการพัฒนา จากหลอดวิดิคอนเป็น แผ่นรับภาพ (CCD) ก็มีหลายขนาด เช่นกัน โดยเริ่มจากขนาด ๒/๓ นิ้ว ๑/๒ นิ้ว ๑/๓ นิ้ว และ ๑/๔ นิ้ว การสร้างเลนส์จึงมีหลายขนาด เพื่อให้มีขนาดที่พอดีกับขนาดของตัวรับภาพ และเป็นการประหยัด. ดังนั้น การเลือกใช้เลนส์ควรจะให้มีขนาดเท่ากับขนาดของตัวรับภาพ แต่ว่าเลนส์ที่ใช้กับตัวรับภาพที่มีขนาดใหญ่กว่า สามารถนำมาใช้กับตัวรับภาพที่ขนาดเล็กกว่าได้ เช่น เลนส์สำหรับตัวรับภาพขนาด ๒/๓ นิ้ว สามารถนำมาใช้กับตัวรับภาพขนาด ๑/๒ นิ้วได้ แต่ในทางกลับกัน
ไม่สามารถที่จะนำเลนส์ที่ใช้กับตัวรับภาพที่เล็กกว่า มาใช้กับตัวรับภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าได้
 เลนส์จะมีข้อต่อที่ใช้กับกล้องโทรทัศน์วงจรปิด อยู่ ๒ แบบคือ C-Mount และ CS-Mount ข้อต่อแบบ C-mount จะมีความยาวช่วงท้ายเลนส์ ถึงหน้าตัวรับภาพ ๑๗.๕ ม.ม. ข้อต่อแบบ CS-Mount จะมีความยาวช่วงท้ายเลนส์ถึงหน้าตัวรับภาพ ๑๒.๕ ม.ม.
ดัง นั้นการเลือกใช้เลนส์ต้องเลือกให้ถูก คือ กล้องที่มีข้อต่อแบบ CS-Mount ก็ควรจะใช้เลนส์ที่มีข้อต่อเป็นแบบ CS-Mount กล้องที่มีข้อต่อแบบ C-Mount ก็ควรใช้เลนส์ที่มีข้อต่อเป็น แบบ C-Mount แต่เลนส์ที่มีข้อต่อเลนส์แบบ C-Mount สามารถที่จะใช้กับกล้องที่มีข้อต่อแบบ

CS-Mount ได้โดยใช้แหวนข้อต่อ (5 mm., Adapter Ring) ต่อกลางระหว่างเลนส์กับกล้อง ถ้านำเลนส์ที่มีข้อต่อแบบC-Mount ไปต่อเข้ากับกล้องที่มีข้อต่อแบบ CS-Mount โดยตรงโดยไม่ใช้แหวนข้อต่อ อาจจะทำให้หน้าตัวรับภาพเกิดความเสียหายได้ เพราะว่าความยาวช่วงท้ายเลนส์ของเลนส์แบบ C-Mount มีความยาวมากกว่าแบบ CS-Mount.

รูรับแสง (Aperture) และการเปิด-ปิด ม่านรับแสง (Iris)
รู รับแสง คือ จุดที่ให้แสงผ่านเข้าไปในเลนส์ ขนาดของรูรับแสงสามารถเปลี่ยนไปได้ ด้วยการเปิด-ปิดม่านรับแสง (Iris) การเปิด-ปิดม่านรับแสงของเลนส์มี ๒ ชนิด คือ

ก. เปิด-ปิด ด้วยมือ (Manual Iris) การปรับขนาดของม่านแสง เพื่อให้ขนาดของรูรับแสงเปลี่ยนแปลง ใช้มือหมุน
วง แหวนปรับขนาดม่านแสง (Iris Ring) ที่ตัวเลนส์ ตัวเลขค่ามาก เช่น 16 ขนาดของรูจะเล็ก ปริมาณแสงจะผ่านได้น้อย ตัวเลขค่าน้อย เช่น 1.2 ขนาดของรูจะใหญ่ ปริมาณแสงจะผ่านได้มาก
ข. เปิด-ปิด อัตโนมัติ (Auto-Iris) การปรับขนาดม่านแสง ทำงานอัตโนมัติร่วมกับการทำงานของกล้อง กล้องจะมี
วงจรไฟฟ้าเพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับเลนส์ชนิดนี้ วงจรไฟฟ้าที่กล้องจะจ่ายไฟฟ้าให้กับเลนส์มี ๒ แบบ คือ แบบ สัญญาณ
ภาพ(Video Type) และแบบ ไฟตรง (DC Type)
แบบสัญญาณภาพ (Video Type) กล้องจะจ่ายไฟฟ้าไปให้เลนส์ในลักษณะของสัญญาณภาพ โดยจะมีความเข้มของสัญญาณภาพ แตกต่างกันไป เลนส์ที่ใช้กับกล้องที่จ่ายไฟฟ้าแบบนี้จะต้องมีวงจรขยาย (Amplifier) เพื่อเปลี่ยนความเข้มของสัญญาณภาพ เป็นไฟฟ้าเพื่อให้อุปกรณ์ตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า กัลวานอ-มิเตอร์ (Galvanometer) หรือ เรียกเป็นอย่างอื่น ทำหน้าที่คล้ายๆ กับมอเตอร์ ทำงาน เพื่อให้ม่านแสงเปลี่ยนขนาด ใหญ่ - เล็ก ตามการเปลี่ยนแปลงของแสง ในรูปของความเข้มของสัญญาณภาพ เลนส์ชนิดนี้ โดยมากจะมีสายสำหรับต่อกับกล้องโดยจะปล่อยปลายสายไว้ (ไม่มีปลั๊ก ๔ขา )
แบบไฟตรง (DC Type) กล้องจะมีวงจรไฟฟ้า จ่ายไฟกระแสตรง (DC) ให้กับเลนส์โดยตรงเลย เลนส์ที่ใช้กับกล้องแบบนี้ ไม่ต้องมีวงจรขยาย การเปลี่ยนแปลงขนาดของม่านแสง ทำงานไปตามการเปลี่ยนแปลงของไฟฟ้า ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของแสง จากการทำงานของกล้อง เลนส์ชนิดนี้ ส่วนมากจะมีสายพร้อมปลั๊ก ๔ ขา (Pin) เพื่อต่อกับกล้อง ปลั๊ก ๔ ขานี้ในอดีตเรียกว่า 4 Pin plug Panasonic standard ซึ่งโรงงานที่ผลิตกล้องเกือบทุกโรงงานจะใช้เป็นมาตราฐานเดียวกัน คือสามารถนำเลนส์ชนิด DC Type ไปใช้ได้กับกล้องได้ เกือบทุกผู้ผลิต
ดังนั้นการเลือกใช้เลนส์อัตโนมัติ จะต้องทราบว่าใช้งานกับกล้องที่จ่ายไฟฟ้า ให้กับเลนส์แบบใด โดยศึกษาจากคู่มือของกล้อง เพราะว่าถ้าใช้เลนส์ผิดประเภทกับการจ่ายไฟของกล้อง เลนส์จะไม่ทำงาน อาจจะเสียหายได้ เพราะว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage) ที่กล้องจ่ายให้กับเลนส์ ทั้งสองแบบ มีความแตกต่างกันมาก และถ้าใช้เลนส์ผิดชนิด ก็จะไม่มีภาพ เพราะว่าเลนส์ไม่เปิดรับแสง

การเลือกใช้ขนาดของรูรับแสงจะมีผลต่อความชัดลึกของภาพ (Depth of Field) ความชัดลึกของภาพหมายถึง ภาพที่เห็นมีความคมชัดของภาพตั้งแต่หน้าเลนส์ ไปจนสุดสายตา มีความคมชัด เท่ากันหมด ในบางภาพจะเห็นว่ามีความคมชัด ความชัดเจน เพียงบางส่วน เช่นระยะต้นๆ แสดงว่าภาพนั้นไม่มีความชัดลึกของภาพ ความชัดลึกของภาพ มีผลต่อภาพที่เห็น เช่น ดูภาพจากกล้องที่ติดตั้ง ที่ทางเดินหน้าอาคาร ถ้ามีคนเดินมาในระยะไกล เราก็ไม่สามารถจะทราบได้ว่าเป็นใคร
ในปัจจุบัน เลนส์ซูมบางรุ่นสามารถจะทำงานได้ทั้ง Manual-Iris และ Auto-Iris โดยเลือกการทำงานที่ตัวควบคุมฯ และบางรุ่นทำงานได้พร้อมกันทั้ง Auto-Iris และ Manual-Iris ในขณะที่ทำงานแบบ Auto อยู่สามารถที่จะให้เปิด หรือปิด Iris ด้วยมือพร้อมกันได้เลย
ความยาวโฟกัส (Focal Length) และ มุมมองภาพ (Angle of View)
ความยาวโฟกัสแบ่งได้ ๒ ชนิดใหญ่ๆ
ความยาวโฟกัสคงที่ (Fixed Focal Length) โรงงานผู้ผลิตเลนส์จะ เป็นผู้กำหนดค่าความยาวโฟกัสของเลนส์ที่จะผลิตออกมาขาย จะมีค่าแตกต่างกันไปหลายขนาด เช่น 8.0 ม.ม. (สำหรับ CCD ขนาด 1/3 นิ้ว) 12 ม.ม. (สำหรับ CCD ขนาด 1/2 นิ้ว) 16 ม.ม. (สำหรับ CCD ขนาด 2/3 นิ้ว) เป็นต้น การเลือกใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสคงที่นี้ ควรเลือกใช้ตามความต้องที่จะได้ขนาดของภาพ
ความยาวโฟกัสจะมีความ สัมพันธ์กับมุมมองภาพ ความยาวโฟกัสที่มีค่าตัวเลขมาก มุมมองภาพจะแคบ ความยาวโฟกัสที่มีค่าตัวเลขน้อย มุมมองภาพจะกว้าง
ความยาวโฟกัสปรับได้ (Variable Focal Length) ยังแบ่งออกได้ หลายแบบดังนี้
ปรับขนาดภาพด้วยมือ (Manual Zoom) เลนส์ชนิดนี้ยังแบ่งได้อีกหลายชนิดเช่น ปรับขนาดภาพและแสงด้วยมือ (Manual Zoom & Manual Iris) ใช้มือ ปรับขนาดภาพ(หมุนวงแหวนขนาดภาพ) และขนาดรูรับแสง (หมุนวงแหวนปรับขนาดม่านแสง) ปรับขนาดภาพด้วยมือแสงอัตโนมัติ (Manual Zoom & Auto-Iris) การใช้งานปรับขนาดภาพด้วยมือ แต่การเปิด-ปิดม่านแสงอัตโนมัติ เลนส์ชนิดนี้ ส่วนมากจะมีค่าในการปรับขนาดภาพไม่มากนัก โดยทั่วไปประมาณ ๒ ถึง ๓ เท่า เท่านั้น
ปรับขนาดภาพด้วยมอเตอร์ (Motorized Zoom) เลนส์ชนิดนี้จะมีมอเตอร์อยู่ภายในตัวเลนส์ ทำหน้าที่ขับให้วงแหวนขนาดภาพเปลี่ยนแปลง (เปลี่ยนค่า ความยาวโฟกัส) ไปตามที่ต้องการ ด้วยตัวควบคุม เลนส์ชนิดนี้ยังแบ่งได้อีก ๒ แบบ คือ เปิด-ปิดม่านแสงด้วยการควบคุม (Manual Iris) เช่นเดียวกันกับการเปลี่ยนขนาดของภาพ จะมีมอเตอร์ทำหน้าที่ เปิด-ปิดม่านแสง หรือจะเรียกว่าควบคุมด้วยมือก็ได้ และ เปิด-ปิดม่านแสงอัตโนมัติ ( Auto Iris) การทำงานของเลนส์ แบบนี้ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น.


ระบบของกล้องวงจรปิดคือ

 คือระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่ถูกจับภาพโดยกล้องวงจรปิด (CCTV Camera)
 ซึ่งเป็นระบบสำหรับการใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย หรือใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์หรือสถานะการณ์ต่างๆ ที่นอกเหนือจากการรักษาความปลอดภัย
 โทรทัศน์วงจรปิดได้ติดตั้งระบบครั้งแรกโดย เอจี Siemens ที่ ทดสอบ V(2) ใน  เยอรมนีใน 1942เพื่อสังเกตการณ์